การผลิตสัตว์ปีก : จากมูลสัตว์ปีกกลายเป็นปุ๋ยอัดเม็ด
เพื่อให้การผลิตสัตว์ปีกเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดทรัพยากร มูลที่ได้มากจากไก่ไข่ และไก่เนื้อต้องได้รับการบำบัดอย่างสมเหตุสมผลในด้านของเศรษฐกิจและระบบนิเวศ มูลจากฟาร์มไก่เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณค่าซึ่งควรนำมาใช้อย่างชาญฉลาด ตัวอย่างเช่น การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืน นอกเหนือจากนั้น ราคาของปุ๋ยแร่ยังมีราคาที่สูง และยังไม่มีท่าทีที่จะมีการลดลงจากการคาดการณ์การในปัจจุบันนี้
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ราคาปุ๋ยเคมีที่มีค่า NPK (ไนโตรเจน ,ฟอสฟอรัส และโปแทสเซียม) มีราคาอยู่ที่ 730 ถึง 990 ยูโรต่อตัน อ้างอิงจาก www.agrarheute.com จากมุมมองทางด้านเศรษฐกิจ มูลสัตว์ในฟาร์มมีความน่าสนใจมากขึ้นต่อฟาร์มที่เหมาะแก่การเพาะปลูก เนื่องจากสามารถลดทั้งปริมาณการใช้ปุ๋ยแร่ที่มีราคาสูงและลดการสร้างคาร์บอนเข้มข้นจากการผลิตปุ๋ยแร่ธาตุ NPK
จากกระบวนการดังกล่าว เจ้าของฟาร์มสามารถขายมูลจากสัตว์ปีกได้ในราคาที่สูง หากเจ้าของฟาร์มสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ได้ถูกทาง
มูลเปียกของสัตว์ปีกไม่สามารถใช้หว่านกระจายบนพื้นดินได้เหมือนกับปุ๋ยสำหรับพืชที่ทำได้ตลอดทั้งปี ทำให้จำเป็นต้องมีพื้นที่จัดเก็บที่เพียงพอ ซึ่งกำหนดโดยกฏหมายควบคุมการใช้ปุ๋ยในประเทศเยอรมันนี ฟาร์มที่มีขนาดใหญ่แต่มีพื้นที่ใช้สอยน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฟาร์มปศุสัตว์ตั้งอยู่ในพื้นที่มีก่อตั้งฟาร์มปศุสัตว์หนาแน่น ต้องทำตามข้อกำหนดเพิ่มเติม
อีกหนึ่งทางเลือกในการใช้มูลเปียกที่มาจากไก่ไข่ หรือไก่เนื้อคือส่งไปโรงผลิตก๊าซชีวภาพ เนื่องจากมูลที่มีไนโตรเจนปริมาณสูงอาจเป็นปัญหาในกระบวนการหมัก อีกทั้งการนำมูลเหลวที่ผ่านการหมักมากระจายสู่ดินก็อาจเป็นปัญหาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ฟาร์มที่อยู่ในพื้นที่ที่มีฟาร์มปศุสัตว์หนาแน่น มูลที่ผ่านการหมักและน้ำที่ใช้แล้วยังมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่สูง และปัญหาอีกอย่างคือความจริงที่ว่าฟาร์มสัตว์ปีกทุกแห่งไม่ได้มีโรงผลิตก๊าซชีวภาพในละแวกนั้น
สิ่งนี้ทำให้เกิดคำถามต่อมา : มีทางเลือกอื่นที่เราสามารถใช้มูลสัตว์ปีกมาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณค่า เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
เมื่อไก่ไข่ถูกเลี้ยงอยู่ในกรง สายพานมูลไก่จะรวบรวมมูลไก่ 1 – 2 ครั้งต่อสัปดาห์ นั่นคือ มูลไก่จะถูกผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง มูลไก่นี้มีค่าสสารแห้งอยู่ที่ 25 – 30% และไม่เสถียรในการจัดเก็บเป็นเวลานาน นอกจากนี้ การปล่อยแอมโมเนียในปริมาณสูงอาจเกิดขึ้นได้ในโรงเก็บมูลสัตว์ โดยสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดคือความร้อนสูงเกินไป
หนึ่งในการแก้ปัญหา คือ การอบแห้งมูลให้เปอร์เซ็นของสสารแห้งให้อยู่ที่ 80 – 85% ระบบอบแห้งแบบอุโมงค์ลม (แบบสายพานแผ่นเหล็ก หรือสายพานพลาสติก) ที่ได้มีการทดสอบการใช้งานจริงมาเป็นเวลาหลายปี ขนาดของอุโมงค์ ความยาว และจำนวนชั้น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามจำนวนของไก่ และปริมาณมูลสัตว์ที่ผลิตได้
ระบบอบแห้งแบบอุโมงค์ลมควรทำงานร่วมกับโรงเรือนตั้งแต่เริ่มต้น ความร้อนทิ้งจากอากาศในโรงเรือนเหมาะสำหรับการทำให้มูลสัตว์แห้งโดยใช้พลังงานน้อยที่สุด แนวคิดนี้เป็นระบบที่ทำงานเข้ากับระบบระบายอากาศในโรงเรือน เป็นแนวทางที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบอบแห้งมูลแบบอุโมงค์ลมนี้สามารถติดตั้งที่ด้านข้าง ด้านหน้าหรือด้านหลังโรงเรือน หรือติดตั้งโดยตรงในโรงเรือนเหนือกรงไก่ไข่
พัดลมจะดันอากาศไปยังประตูลมจนถึง 4 ลูกบาศ์กเมตรต่อชั่วโมงต่อจำนวนไก่ ภายในประตูลม อากาศจากในเล้าจะตรงเข้าสู่ระบบอบแห้งมูลทุกๆ ชั้นของอุโมงค์อบมูลแห้งจากด้านนึงไปตามความยาวของทั้งระบบ สายพานลำเลียงมูลสัตว์แบบมีรูระบายช่วยให้แน่ใจว่าอากาศไม่เพียงแต่ผ่านมูลสัตว์เท่านั้น แต่ยังผ่านเข้าไปด้วย สิ่งนี้ทำให้การอบแห้งมูลสัตว์ดีขึ้นมาก
ผลลัพธ์ที่ได้คือ DMC ที่สูงถึง 85 % มูลสัตว์ปีกแห้งที่สร้างขึ้นโดยผ่านกระบวนการนี้ปลอดภัยสำหรับการจัดเก็บในโรงเก็บมูลสัตว์แบบพิเศษ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย นอกจากนี้ยังง่ายต่อการขนส่งและสามารถนำไปยังพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของปศุสัตว์ต่ำด้วยต้นทุนที่ต่ำ
แร่ธาตุ (kg/t) | มูลสัตว์ปีกแห้ง 70 % DM | มูลสัตว์ปีกแห้ง 50 % DM | มูลสัตว์ปีกเปียก 25 % DM 17.0 |
---|---|---|---|
ไนโตรเจน (N ทั้งหมด) | 32.0 | 25.5 | 17.0 |
ฟอสฟอรัส (P₂O₅) | 27.7 | 20.1 | 11.4 |
โพแทสเซียม (K₂O) | 22.8 | 17.5 | 10.0 |
แคลเซียม (CaO) | 63 | 50.6 | 30.0 |
แมคนีเซียม (MgO) | แมคนีเซียม | 7,9 | 5.7 |
เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา คำถามที่ว่าสารตกค้างนี้ถูกนำมาใช้ให้เกิดกำไรหรือไม่นั้น ยังรอคำตอบในการยืนยัน แต่วันนี้โดยเฉพาะเมื่อมองไปยังอนาคต ยังคงสำเร็จไปเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
เพื่อปรับปรุงความเป็นไปได้ทางการตลาดสำหรับมูลสัตว์แห้งอย่างมีนัยสำคัญ ควรนำกากที่เหลือมาอัดเป็นเม็ด กระบวนการบำบัดเท่านั้นจึงจะเรียกว่าการสร้างทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
เหตุผลก็คือการอัดเป็นเม็ดช่วยลดปริมาตรของวัสดุที่หลุดร่อนได้ประมาณสองในสาม ความสามารถในการขนส่งและการเก็บรักษาของมูลสัตว์อัดเม็ดจึงดีกว่ามูลสัตว์ปีกที่ปล่อยทิ้งและแห้งมาก
This has a positive effect on marketing: the organic compound fertiliser pellets with low odour emissions allow for a much more specific fertilisation of the plants; the soil is provided with additional organic matter.
ไม่น่าแปลกใจเลยที่นักจัดสวน ชาวสวน และลูกค้าที่มีสวนส่วนตัวจะสนใจปุ๋ยอัดเม็ดเหล่านี้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
แม้ว่าจะมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จำนวนมากที่อัดมูลสัตว์ปีกแบบแห้ง (ไก่ไข่ 500,000 ตัวขึ้นไป) แต่ก็มีระบบขนาดเล็กให้เลือกใช้เช่นกัน ระบบดังกล่าวมักออกแบบมาสำหรับไก่ไข่มากถึง 200,000 ตัวต่อปี หรือสำหรับไก่เนื้อมากถึง 240,000 ตัวต่อป
เมื่อขั้นตอนกระบวนการต่างๆ สอดคล้องกัน ผู้จัดการสัตว์ปีกสามารถลืมโรงเก็บมูลสัตว์ได้เลย ปุ๋ยอัดเม็ดที่พร้อมขายสามารถเก็บไว้ใน BigBags ได้ในระยะสั้น
ความต้องการปุ๋ยผสมของตลาดนี้กำลังเพิ่มขึ้น ดังนั้นราคาจึงเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน 110 ยูโรหรือมากกว่าต่อตันของมูลสัตว์ปีกอัดเม็ดไม่ใช่เรื่องแปลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปุ๋ยอัดเม็ดนั้นผ่านการฆ่าเชื้อและผลิตจากมูลสัตว์ปีกแห้ง ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการตัดจำหน่ายสำหรับการลงทุน
จำนวนไก่ไข่ | 50,000 | 100,000 | 120,000 | 150,000 | |
---|---|---|---|---|---|
มูลไก่ที่ได้ต่อวันต่อตัว | kg | 0.165 | 0.165 | 0.165 | 0.165 |
มูลเปียกต่อปี, มวลแห้ง 30% | t | 2,309 | 4,617 | 5,541 | 6,926 |
มูลแห้ง / อัดเม็ด, มวลแห้ง 85% | t | 815 | 1,630 | 1,956 | 2,444 |
รายได้ปุ๋ยอัดเม็ดต่อตัน (110 ยูโรต่อตัน) | € | 89,628 | 179,257 | 215,109 | 268,886 |
ค่าใช้จ่ายในการลงทุนสำหรับเครื่องอบแห้งและเครื่องอัดเม็ดเป็นจำนวนเงินประมาณ 430,000 ยูโร (แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้จัดจำหน่าย) ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพิ่มเติมเป็นค่าใช้จ่ายรายปี (งาน, พลังงาน, การบำรุงรักษา, ฯลฯ) ประมาณ 200,000 ยูโร คำนวณด้วยรายได้ 110 ยูโรต่อตันของปุ๋ยอัดเม็ดและค่าเสื่อมราคาตามอายุการใช้งาน 7 ปี แบบเส้นตรง ที่อัตราดอกเบี้ย 2% และด้วยจำนวนไก่ไข่ 150,000 ตัว ผลกำไรจะอยู่ที่ประมาณ 69,000 ยูโรต่อปี นั่นคือ ROI 6.2 ปี
จำนวนไก่ไข่ | 150,000 | |
---|---|---|
ต้นทุนการลงทุน | € | 430,000 |
ค่าใช้จ่ายรายปี | € | 200,000 |
ต้นทุนรวม | € | 630,000 |
ค่าเสื่อมราคาตามอายุการใช้งาน 7 ปี แบบเส้นตรง | 66,300 | |
ผลตอบแทน | €/ปี | 69,150 |
ผลตอบแทนถึงจุดคุ้มทุน (ROI) | ปี | 6.2 |
คุ้มทุน | €/ตัน | 81.70 |
ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าเครื่องอัดเม็ดควรทำงานเกือบเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากการอัดเป็นเม็ดจะได้ผลตอบแทนจากขนาดระบบที่ระบุเท่านั้น เมื่อจำนวนไก่ต่ำเกินไป ผู้จัดการสัตว์ปีกควรพิจารณาร่วมกับเกษตรกรรายอื่น โดยลงทุนในเครื่องอัดเม็ดร่วมกัน อีกทางเลือกหนึ่งคือติดต่อพันธมิตรที่ให้บริการด้านการเกษตรหรือแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสารอาหารในท้องถิ่น